หนึ่งฤทัย ศรีสุข

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนมีด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
บทเรียนซีเอไอ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(computer-assisted instruction lessons) หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า “บทเรียนซีเอไอ” เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วย เนื้อหาสื่อประสมและอาจมีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงไปยังหัวข้อย่อยเพื่อสะดวกในการเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากเนื้อหาซึ่งมีทั้งข้อความ ภาพและเสียง มีการตอบสนองกับบทเรียน โดยการทำแบบทดสอบ และได้รับผลป้อนกลับทันที เพื่อให้สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้ บทเรียนซีเอไอจะบรรจุบนแผ่นซีดีเพื่อสะดวกในการใช้เรียนทั้งในห้องเรียนหรือผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองที่บ้านตามความสะดวกของแต่ละคน
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์(electronic-learning : e-learning) หรือเรียกสั้นๆว่า “อีเลิร์นนิง” เป็นการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้การสื่อสารทางไกลด้วยสายโทรศัพท์หรือการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม มีการใช้เทคโนโลยีเว็บในการนำเสนอบทเรียนออนไลน์และมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองทั้งแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลาผ่านทางการสนทนา
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกล(distance education) เป็นระบบการศึกษาที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถมีการเรียนการสอนได้ด้วยการใช้สื่อประเภทต่างๆ ทั้งสื่อพื้นฐานและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้การสอนบนเว็บบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้สามารถส่งการสอนจากที่หนึ่งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านหรือสถานที่แห่งใดๆก็ได้ในโลกนี้ เพื่อการเรียนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic-book) เป็นสื่อประเภทหนึ่งในกลุ่มสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม ฯลฯ โดยการแปลงเนื้อหาที่พิมพ์ด้วยซอฟต์แวร์ โปรแกรมประมวลคำให้เป็นรูปแบบ .pdf (portable document file) เพื่อสะดวกในการอ่านด้วยโปรแกรมสำหรับอ่านหรือส่งผ่านอินเตอร์เน็ต ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีทั้งรูปแบบธรรมดา คือ มีข้อความและภาพเหมือนหนังสือทั่วไป และแบบสื่อหลายมิติโดยการเชื่อมโยงไปยังข้อความในหน้าอื่นๆ หรือเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตก็ได้ ทำให้สะดวกในการใช้งาน เพราะมีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชันและแบบวีดิทัศน์ และเสียงประเภทต่างๆ รวมถึงเสียงจากการอ่านข้อความในเนื้อหาด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกลงในแผ่นซีดี หรือดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตก็ได้ และใช้อ่านบนจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ



บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์,
2548
กมล เวียงสุวรรณ.สื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:คอมแพคท์ พริ้นท์,2539
สืบค้นจาก : http://gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932
สืบค้นจาก : http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
สืบค้นจาก : http://wongketkit.blogspot.com/2008/09/blog-post_4435.html
สืบค้นจาก :
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6
สืบค้นจาก : http://www.nkw.ac.th/course/www.school.net.th
สืบค้นจาก : http://montree2500.212cafe.com/archive/2008-09-22
สืบค้นจาก : http://student.nu.ac.th/supaporn/e%20-book.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น