หนึ่งฤทัย ศรีสุข

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนมีด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
บทเรียนซีเอไอ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(computer-assisted instruction lessons) หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า “บทเรียนซีเอไอ” เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วย เนื้อหาสื่อประสมและอาจมีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงไปยังหัวข้อย่อยเพื่อสะดวกในการเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากเนื้อหาซึ่งมีทั้งข้อความ ภาพและเสียง มีการตอบสนองกับบทเรียน โดยการทำแบบทดสอบ และได้รับผลป้อนกลับทันที เพื่อให้สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้ บทเรียนซีเอไอจะบรรจุบนแผ่นซีดีเพื่อสะดวกในการใช้เรียนทั้งในห้องเรียนหรือผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองที่บ้านตามความสะดวกของแต่ละคน
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์(electronic-learning : e-learning) หรือเรียกสั้นๆว่า “อีเลิร์นนิง” เป็นการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้การสื่อสารทางไกลด้วยสายโทรศัพท์หรือการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม มีการใช้เทคโนโลยีเว็บในการนำเสนอบทเรียนออนไลน์และมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองทั้งแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลาผ่านทางการสนทนา
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกล(distance education) เป็นระบบการศึกษาที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถมีการเรียนการสอนได้ด้วยการใช้สื่อประเภทต่างๆ ทั้งสื่อพื้นฐานและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้การสอนบนเว็บบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้สามารถส่งการสอนจากที่หนึ่งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านหรือสถานที่แห่งใดๆก็ได้ในโลกนี้ เพื่อการเรียนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic-book) เป็นสื่อประเภทหนึ่งในกลุ่มสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม ฯลฯ โดยการแปลงเนื้อหาที่พิมพ์ด้วยซอฟต์แวร์ โปรแกรมประมวลคำให้เป็นรูปแบบ .pdf (portable document file) เพื่อสะดวกในการอ่านด้วยโปรแกรมสำหรับอ่านหรือส่งผ่านอินเตอร์เน็ต ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีทั้งรูปแบบธรรมดา คือ มีข้อความและภาพเหมือนหนังสือทั่วไป และแบบสื่อหลายมิติโดยการเชื่อมโยงไปยังข้อความในหน้าอื่นๆ หรือเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตก็ได้ ทำให้สะดวกในการใช้งาน เพราะมีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชันและแบบวีดิทัศน์ และเสียงประเภทต่างๆ รวมถึงเสียงจากการอ่านข้อความในเนื้อหาด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกลงในแผ่นซีดี หรือดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตก็ได้ และใช้อ่านบนจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ



บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์,
2548
กมล เวียงสุวรรณ.สื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:คอมแพคท์ พริ้นท์,2539
สืบค้นจาก : http://gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932
สืบค้นจาก : http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
สืบค้นจาก : http://wongketkit.blogspot.com/2008/09/blog-post_4435.html
สืบค้นจาก :
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6
สืบค้นจาก : http://www.nkw.ac.th/course/www.school.net.th
สืบค้นจาก : http://montree2500.212cafe.com/archive/2008-09-22
สืบค้นจาก : http://student.nu.ac.th/supaporn/e%20-book.htm

9. สื่อประสม คืออะไร

กิดานันท์ มลิทอง (2543: 192 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสมคือ การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอนโดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหา
วารินทร์ รัศมีพรหม (2531 : 108 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม คือ การนำเอาสื่อแต่ละชนิดและรูปแบบของสื่อนั้นๆมาบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างมีโครงสร้างที่ดีและมีระบบในการนำเสนอ
วาสนา ชาวหา ( 2533 : 14 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน
สมสิทธิ์ จิตรสถาพร ( 2547 : 57 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม คือ การใช้สื่อหลายอย่างมาประกอบกันอย่างเป็นระบบ ในอดีตใช้สื่อที่หลากหลายด้วยกันแต่ปัจจุบันใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อ
จริยา เหนียนเฉลียง (2535 : 113 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม คือ การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่างมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกัน และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
http: // www. edu. buu.ac.th/journal ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม คือ การใช้หลายอย่างร่วมกันโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอควบคุม
http: //www.images.minint.multiplycontent.com ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม คือ การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุและอุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน
http: //www.st.ac.th/avlinno-maltimedia.htm ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสม คือ การนำเอาสื่อหลายๆอย่างมาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน

สรุป
สื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆประเภทมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด




บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อรุณการ
พิมพ์, 2548
วารินทร์ รัศมีพรหม.สื่อการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2531
วาสนา ชาวหา . สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์,2533
สมสิทธิ์ จิตรสถาพร. สื่อการสอน. กรุงเทพฯ : 2547
จริยา เหนียนเฉลียง.เทคโนโลยีการศึกษา.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2535
สืบค้นจาก : http: // www. edu. buu.ac.th/ journal
สืบค้นจาก:http://www.images.minint.multply.multiplycontent.
com
สืบค้นจาก : http: // www. st.ac.th./avlinno-multimedia.htm

8. สื่อการสอน คืออะไร

กิดานันท์ มลิทอง ( 2543: 89 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน คือ สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น เทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ ฯลฯ ซึ่งบรรลุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียนทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี
วรรณา เจียมทะวงษ์ (2528 : 1 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน คือ สิ่งซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ ให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551 : 12 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน คือวัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดในการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้รับรู้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความเข้าใจตรงกัน
วาสนา ชาวหา ( 2533 : 8 ) ได้กล่าวว่า สื่อการสอนคือ สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( 2533 : 80 ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน คือ สิ่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
http: // pineapple- eyes. Snru. Ac. Th ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอน คือ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สรุป
สื่อการสอน คือ วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายไปสู่ผู้เรียน แล้วทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรุ้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนวางไว้



บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย , 2543
วรรณา เจียมทะวงษ์ .ทักษะพื้นฐานของการผลิตสื่อการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :ดวงดี
การพิมพ์ , 2528
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ . สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมานี : สกายบุ๊คส์ , 2551
วาสนา ชาวหา. สื่อการเรียนกรสอน. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์, 2533
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. เทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง
เฮาส์, 2533
สืบค้นจาก: http: //pineapple-eyes.snru.ac.th

7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา สรุปได้ดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา และเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษา จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น







บรรณานุกรม
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อรุณการ
พิมพ์,2548
กมล เวียงสุวรรณ.สื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:คอมแพคท์ พริ้นท์,2539
สืบค้นจาก: http://gotoknow.org/blog/valairat/242734
สืบค้นจาก: http://suriya.blog.mthai.com/2010/02/22/public-1
สืบค้นจาก:http://Vclass.mgt.psu.ac.th

6. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงอะไร

นาฏยา อุกฤษฎ์ดุษฎี (2553: 3) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อช่วยในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
วรวิทย์ นิเทศศิลป์(2551: 244) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกันสำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูลและมัลติมีเดีย เกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลผลหรือจัดให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและสะดวกมาใช้ประโยชน์
สมบูรณ์ สงวนญาติ ( 2534 : 17) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงระบบการนำเอาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาประยุกต์ร่วมกันเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่จะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
http: // www. bcoms. net/ temp /lesson1 .asp. ได้ให้ความหมายว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศโดยรวม ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร
โทรคมนาคม
http://th. Wikipetia. Org/ wiki ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ – ส่ง การแปลง การจับเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศในการประยุกต์ การบริการ


สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลแล้วทำให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น



บรรณานุกรม
นาฏยา อุกฤษฎ์ดุษฎี. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , 2553
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ . สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ . ปทุมธานี: สกายบุ๊คส์ , 2551
สมบูรณ์ สงวนญาติ . เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
การศาสนา , 2534
สืบค้นจาก : http: // www. bcoms. net/ temp / lesson1. Asp.
สืบค้นจาก : http: // th. Wikipedia. Org/ wiki















5. เทคโนโลยีหมายถึงอะไร

ขวัญจิต ภิญโญชีพ (2534:13)ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ กระบวนการ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพของงานนั้น
คาร์เตอร์ วี กูด ( 1973:592) ได้ให้ความหมายว่าเทคโนโลยีหมายถึง การนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการต่างๆหรือมาใช้งานสาขาต่างๆและเมื่อนำมาใช้แล้วก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบงานต่างๆนั้นด้วย
นาฏยา อุกฤษฎ์ดุษฎี (2535:2-3) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือความรู้ด้านอื่นๆที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:16) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีหมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นระบบที่ดี ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2525:10) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีหมายถึง การนำเอาขบวนการวิธีการและแนวคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่องานในด้านต่างๆและสังคม
อรรคเดช โสสองชั้น (http:// Ceit.sut.ac.th/km/wordpress) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีหมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา

สรุป
เทคโนโลยี หมายถึงการนำเอาความรู้ด้านศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆแล้วทำให้งานนั้นๆมีประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพสูงสุด





บรรณานุกรม
ขวัญจิต ภิญโญ. หลักการและเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. ม.ป.ท. : วิทยาลัยครู
จันเกษม, 2534
คาร์เตอร์ วีกูด. พจนานุกรมศึกษา. นิวยอร์ค : Mo .Graw-Hill Book
Company,1973
นาฏยา อุกฤษฎ์ดุษฎี .เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. พิมพ์ครั้งที่6.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , 2553
สมบูรณ์ สงวนญาติ .เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน .พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
การศาสนา , 2534
สมหญิง เจริญจิตรกรรม .เทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศิลปกร , 2552
สืบค้นจาก : http //Ceit. Sut.ac.th/km/ wordpress

4. นวัตกรรมการศึกษาคืออะไร

ขวัญจิต ภิญโญชีพ(2534:18) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา เป็นความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่นำมาใช้กับงานด้านการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาและเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้ผลดีที่สุด
บุญเกื้อ ควรหาเวช(2522:5) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วรวิทย์ นิเทศศิลป์(2551:257) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา
สาโรช โศภีรักข์(2546:28) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา เป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้การศึกษามีสิ่งใหม่ๆ และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่ารวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม

สรุป
นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำเอาสิ่งใหม่ๆเข้ามาใช้ในการศึกษา แล้วทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม





บรรณานุกรม
ขวัญจิต ภิญโญชีพ.หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์
วิทยาลัยครูจันเกษม,2534
บุญเกื้อ ควรหาเวช.นวัตกรรมการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร:เจริญวิทย์การพิมพ์,
2530
วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 1.ปทุมธานี:สกายบุ๊คส์,
2551
สาโรช โศภีรักข์.นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร:
บุ๊คพอยท์,2546

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

3. นวัตกรรมคืออะไร

สมบรูณ์ สงวนญาติ(2534:16) ได้กล่าวว่า นวัตกรรม เป็นแนวปฏิบัติหรือแนวคิด หรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีปัญหา มนุษย์พยายามที่จะหาทางแก้ปัญหานั้น และเมื่อเป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก จนถือเป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไปแล้ว สภาพนวัตกรรมจะหมดไป เปลี่ยนสภาพไปเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
บุญเกื้อ ควรหาเวช(2522:4-5) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม คือ การทดลองแล้วประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับการสมัย
สาโรช โศภีรักษข์(2546:26) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีใหม่ๆเข้ามาใช้ และเปลี่ยนแปลงวิธีเดิมกลับมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
ขวัญจิต ภิโญชีพ(2534:17) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม คือความคิด และวิธีการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้กับการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
วรวิทย์ นิเทศศิลป์(2551:257) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม คือความคิดหรือการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานต่างๆ
อรรคเดช โสสองชั้น(http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม คือ การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม จากวิธีที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สรุป
นวัตกรรม คือ การนำความรู้ใหม่ๆมาใช้เพื่อปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ตามเดิม แล้วทำให้ได้ความรู้ใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม




บรรณานุกรม
ขวัญจิต ภิญโญชีพ.หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์
วิทยาลัยครูจันเกษม,2534
บุญเกื้อ ควรหาเวช.นวัตกรรมการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร:เจริญวิทย์การพิมพ์,
2530
วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 1.ปทุมธานี:สกายบุ๊คส์,
2551
สมบรูณ์ สงวนญาติ.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์
การศาสนา,2534
สาโรช โศภีรักข์.นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร:
บุ๊คพอยท์,2546
สืบค้นจาก: http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress

2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

ทฤษฏีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ สามารถสรุปได้ดังนี้


1. การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy) Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ คือ1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด

2. ความเข้าใจ (Comprehend)

3. การประยุกต์ (Application)

4. การวิเคราะห์ (Analysis)

5. การสังเคราะห์ (Synthesis)

6. การประเมินค่า (Evaluation)


2. การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)

1. ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรม และประสบการณ์บ่อย ๆ และต่อเนื่องกัน

2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ จึงควรให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

3. บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

3. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ กาเย่ (Gagne) ประกอบด้วย

1. การจูงใจ ( Motivation Phase)

2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)

3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase)

4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)

5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )

6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)

7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase )

8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)

องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดของ กาเย่ ( Gagne) คือ

1. ผู้เรียน ( Learner ) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้

2. สิ่งเร้า ( Stimulus ) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

3. การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้


4. การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)

1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์

2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน

3. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง

4. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ

5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง

6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม


5. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บี เอฟ สกินเนอร์ ( B.F. Skinner )

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ บี เอฟ สกินเนอร์ มีแนวความคิดพื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเงื่อนไขการเสริมแรงและลงโทษการเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ

1 .การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)

2. การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement)

การเสริมแรงทางบวก เป็นการกระทำชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้เรียน ส่วนการเสริมแรงทางลบ เป็นการพยายามทำให้เกิดการตอบสนองเพิ่มขึ้น หรือเข้มข้นขึ้น โดยการกำจัดสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ออกไป


6. ทฤษฎีการเรียนรู้ของโคล์เลอร์( Kohler )

การเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ( Insight )เป็นแนวคิดของ โคท์เลอร์ ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้นี้เป็นการอธิบายถึง กระบวนการรู้คิด ( Cognitive Processes ) ที่เกิดในระหว่างการเรียนรู้ โดยมีการเน้นความสำคัญของผู้เรียนว่าจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือเป็นผู้ที่ริเริ่มและกระตือรือร้น


7. ทฤษฏีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
กฎการเรียนรู้

1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ

2. กฎแห่งการฝึกหัด (Low of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้

3. กฎแห่งการใช้ (Low of Use and Disuse) ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ

4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้


8. กฎการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)

1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz) การเรียนรู้ที่ดีจะต้องเกิดจากความแน่นอนหรือความชัดเจน

2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและอยู่รวมกันเป็นชุด ๆ

3. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Proximity) การเรียนรู้ว่าสิ่งใด สถานการณ์ใดเป็นเหตุเป็นผลกัน สิ่งนั้นต้องเกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องกันในเวลาใกล้เคียงกัน

4. กฎแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure) สาระสำคัญ คือ แม้ว่าสถานการณ์หรือปัญหานั้นยังไม่สมบูรณ์ อินทรีย์จะเกิดการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์เดิมต่อสถานการณ์นั้น


9. การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor)

ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน เงื่อนไข พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้ โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. มาตรฐานพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ

2. พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ 3. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์


10 . ทฤษฎีการเรียนรู้ของ กัททรี ( Edwin R.Guthrie )

กัททรี (Edwin R.Guthrie) เป็นผู้สนใจศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวความคิดลัทธิพฤติกรรมนิยม และนิยมชมชอบคือ อธิบายพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เขาเชื่อว่าหลักการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (สภาวะแวดล้อมภายนอก) กับอินทรีย์ (สภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย) หลักการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของ กัททรี มีดังนี้

1. เมื่อสภาวะสมดุลในกระบวนการจูงใจ (Homeostasis) สูญสิ้นไปอินทรีย์ จะเริ่มสร้างแรงจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ซึ่งบุคคลเคยเรียนรู้มาแล้ว

2. พฤติกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามสภาวะสมดุลในการจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลเคยเรียนรู้มาแล้ว

3. พฤติกรรมทั้งหลายของคนเราไม่ว่าจะซับซ้อนอย่างไร ก็สามารถอธิบายได้ตามลักษณะนิสัยและเหตุจูงใจตามหลักการดังกล่าวข้างต้น (ข้อ 1 และ ข้อ 2)
11. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning ) ของ ไอวาน พาร์พลอฟ( Ivan Pavlop ) พาร์พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข (conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี


12. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ วัตสัน (John B. Watson)

วัตสัน (John B. Watson) ผู้ริเริ่มลัทธิพฤติกรรมนิยมซึ่งหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงจิตใจของมนุษย์ เขาอธิบายเรื่องจิตใจโดยเน้นการกระทำเป็นหลัก กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์เกิดขึ้นและแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่ถูกจัดสร้างขึ้นหรือเป็นไปตามสภาพธรรมชาติ จะช่วยให้เราสามารถควบคุมและทำนายพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลได้





บรรณานุกรม
สืบค้นจาก: http://gotoknow.org/blog/turtoreiei/35047
สืบค้นจาก: http://learners.in.th/blog/watchana/84155
สืบค้นจาก: http://th.wikipedia.org/wiki
สืบค้นจาก: http://learners.in.th/blog/maipsy/249950
สืบค้นจาก: http://www.geocities.com/aewatcharaphon/file2.htm
สืบค้นจาก: http://www.st.ac.th/av/learn_theo.htm

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร


ทิศนา แขมมณี(2553:43) ได้กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถอธิบายลักษณะการเกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
http://pirun.ku.ac.th/ ได้กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวความคิดที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
http://th.wikipedia.org/wiki%20%20ได้กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
http://edtechno.msa.ac.th/mod/resource%20%20ได้กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวความคิดที่ใช้อธิบายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน ที่ผู้เรียนแสดงออกมา
http://www.supnet.com/index.pnp?lay%20%20ได้กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่สามารถใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวความคิดที่ใช้อธิบายถึงลักษณะการเรียนรู้ และเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน ที่เป็นผลมาจากการมีประสบการณ์

บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี.ศาสตร์การสอน.พิมพ์ครั้งที่12.กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์,2553
สืบค้นจาก: http://pirun.ku.ac.th
สืบค้นจาก: http://th.wikipedia.org/wiki
สืบค้นจาก: http://edtechno.msa.ac.th/mod/resource
สืบค้นจาก: http://www.supnet.com/index.pnp?lay